นิ้วล็อก (Repetitive Strain Injury) (first)
คุณรู้หรือไม่ว่า การที่มือของเราถูกใช้งานมากเกินไป หรือคนที่ต้องหิ้วของหนัก ๆ อยู่เสมอนั้นจะทำให้เกิด โรคนิ้วล็อก ขึ้นได้
โดยผู้เป็นโรคนี้จะกำมือและงอนิ้วได้ แต่เวลาเหยียดนิ้วออก นิ้วใดนิ้วหนึ่งจะเหยียดไม่ได้ เหมือนโดนล็อกไว้ และจะมีอาการปวดด้วย
ดังนั้นเราสามารถป้องกัน โรคนิ้วล็อก ได้ง่ายๆ ดังนี้
1. ไม่ควรทำงานที่ใช้มืออย่างหนักและต่อเนื่องเกินไป แต่ถ้าจำเป็นก็ควรพักมือเป็นระยะ ๆ
2. ไม่หิ้วของหนัก แต่ถ้าจำเป็นก็ควรใช้ผ้าขนหนูหรืออะไรนิ่ม ๆ รอง และหิ้วโดยทิ้งน้ำหนักลงที่ฝ่ามือ แทนข้อมือ
3. เมื่อใดที่ต้องใช้อุปกรณ์ช่างที่ต้องทำมือในลักษณะ กำ บด กด ควรสวมถุงมือ หรือเอาผ้ามาหุ้มด้านจับอุปกรณ์ให้ใหญ่ขึ้นจะได้เหมาะมือ
4.ไม่บิดผ้า หรือซักผ้าด้วยมือเปล่า ในจำนวนมาก ๆ และบ่อยครั้ง
อาการของโรคแบ่งเป็น 4 ระยะ
1. ระยะแรกมีอาการปวดเป็นอาการหลัก โดยจะมีอาการปวดบริเวณนิ้วมือ และจะมีอาการปวดมากขึ้น ถ้าเอานิ้วมือกดฐานบริเวณนิ้วมือด้านหน้า แต่ยังไม่มีอาการติดสดุด
2. ระที่สอง มีอาการสะดุด เป็นอาการหลัก และอาการปวดจะเพิ่มมากขึ้น เวลาขยับนิ้วมือ งอ เหยียดนิ้วมือ มีอาการสดุด
3. ระยะที่สาม มีอาการติดล๊อคเป็นอาการหลัก โดยเมื่องอนิ้วมือลงไปแล้วจะติดล๊อคจนนิ้วมือไม่สามารถเหยียดเองได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยแกะออกถึงจะเหยียดได้ หรือ อาจมีอาการมากขึ้น จนไม่สามารถงอนิ้วมือลงได้เอง
4. ระยะที่สี่ มีอาการปวดบวมมาก จนนิ้วบวมติดอยู่ในท่างอเล็กน้อย ไม่สามารถเหยียดให้ตรงได้ ถ้าใช้มือมาช่วยแกะจะมีอาการปวดมาก
พีที เนอร์สซิ่งโฮม ดูแลผู้สูงอายุ 24 ชั่วโมง เชียงใหม่ สันป่าตอง โทร 089-954-5566