การจัดท่าทางที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
รูปแบบการเกร็งของกล้ามเนื้อ |
รูปแบบการจัดท่าท่าทางที่ถูกต้อง |
1.ศีรษะเอียงไปด้านที่อ่อนแรง |
-ศีรษะตรง |
2.ไหล่ตกและปิดไปทางด้านหลัง |
-ไหล่อยู่ในระดับตรงและบิดมาทางด้านหน้า |
3.ข้อศอกและแขนหมุนเข้าด้านใน |
-ข้อศอกเหยียดตรงและแขนหมุนออกด้านนอก |
4.ข้อมือตกและคว่ำมือ |
-ข้อมือกระดกขึ้นและหงายมือขึ้น |
5.มือกำแน่น |
-มือแบบออก นิ้วหัวแม่มือชี้ออกจากลำตัว |
6.สะโพกเหยียดและบีดไปทางด้านหลัง ขาแบะออก |
-สะโพกบิดมาด้านหน้าและขาหมุนเข้าด้านใน |
7.เข่าเหยียดตรง |
-เข่างอเล็กน้อย |
8.ข้อเท้าตก ปลายเท้าชี้ลง |
-ข้อเท้ากระดกขึ้น |
การจัดท่าทางที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก มีดังนี้
1. ท่านอนหงาย
-ศีรษะตรง หนุนหมอนที่ไม่เตี้ยหรือสูงเกินไป
-ใช้ผ้าหรือหมอนหนุนไหล่เพื่อป้องกันสะบักบิดและตกไปด้านหลัง
-ใช้หมอนรองแขนด้านที่อ่อนแรง ให้แขนเหยียดและกางออกเล็กน้อย หงายฝ่ามือขึ้น
-รองหมอนใต้ข้อเข่าทั้งสองข้าง ให้ขาอยู่ในลักษณะธรรมชาติ เข่างอกเล็กน้อย
2.ท่านอนตะแคงทับข้างที่อ่อนแรง
-ศีรษะตรง หนุนหมอนที่ไม่เตี้ยหรือสูงเกินไป
-ดึงสะบักด้านอ่อนแรงออกมาข้างหน้า พร้อมกับกางแขนออก 90 องศา เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยนอนทับบนข้อไหล่
-รองหมอนใต้ขาข้างปกติตลอดจนถึงฝ่าเท้า งอสะโพกและเข่า ไขว้ขาไปทางด้านหน้า
-งอเข่าข้างอ่อนแรง เหยียดสะโพกไปทางด้านหลัง
3. ท่านอนตะแคงทับข้างปกติ
-ศีรษะตรง หนุนหมอนที่ไม่เตี้ยหรือสูงเกินไป
-ดึงสะบักข้างอ่อนแรงออกมาทางด้านหน้า พร้อมกับกางแขนออก 90 องศา รองหมอนใต้ข้างอ่อนแรงตลอดจนถึงฝ่ามือ ให้แขนเหยียดตรง หมอนที่ใช้รองแขนนี้ไม่ควรเตี้ยมาก เพราะจะทำให้ช่วงแขนต่ำกว่าระดับลำตัว ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ข้อไหล่ได้
-รองหมอนใต้ขาข้างอ่อนแรงตลอดจนถึงฝ่าเท้า งอสะโพกและเข่า ไขว้ขาไปทางด้านหน้าเพื่อให้สะโพกบิดไปทางด้านหน้าและเป็นการยึดกล้ามเนื้อข้างลำตัวและสะโพก
-งอเข่าข้างปกติ เหยียดสะโพกไปด้านหลัง
4. ท่านั่ง
-ศีรษะและลำตัวตั้งตรง
-แขนข้างอ่อนแรงวางไว้บนหมอนข้างลำตัว หนุนให้สูงจนแขนข้างอ่อนแรงอยู่ในระดับเดียวกับข้างปกติ
-เท้าควรจัดให้วางบนพื้นเต็มฝ่าเท้าทั้งสองข้าง ถ้าเตียงหรือเก้าอี้สูงเกินไป ให้ใช้กล่องไม้เตี้ยๆรองเท้า
5. การเคลื่อนย้ายตัวไปยังปลายเตียง
-ปรับเตียงให้เป็นระนาบเดียวกัน เอาหมอนรองออกจากศีรษะ
-นอนหงาย มือข้างปกติจับแขนข้างที่อ่อนแรงไว้บนอก
-ชันเข่าข้างปกติขึ้น ข้างอ่อนแรงนักกายภาพบำบัดช่วยจับตั้งขึ้น
-ผู้ป่วยตั้งศอกข้างปกติขึ้น
-นักกายภาพบำบัดนั่งคุกเข่าอยู่ปลายเท้าผู้ป่วย มือทั้งสองข้างจับที่บริเวณใต้สะโพก ยกขึ้นเพียงเล็กน้อย ให้ผู้ป่วยช่วยออกแรงกดที่ศอก นักกายภาพบำบัดออกแรงดึกที่สะโพกผู้ป่วยเลื่อนลง
6. การเปลี่ยนจากท่านอนหงายเป็นท่านอนคว่ำ
-เอาหมอนออกจากศีรษะผู้ป่วยก่อน
-เลื่อนตัวผู้ป่วยไปชิดขอบเตียงด้านตรงกันข้ามกับที่กำลังจะพลิกไป
-จัดแขนผู้ป่วยด้านที่จะพลิกไปให้อยู่ในลักษณะ ยกแขนขึ้น 90 องศา
-ตั้งขาข้างปกติขึ้นแล้วยันตัวมาให้พลิกคว่ำ
7. เปลี่ยนจากท่านอนตะแคงมานั่งห้อยขาข้างเตียง
-จากท่านอนตะแคงทับข้างอ่อนแรง
-เอาขาข้างปกติช้อนใต้เข่าข้างอ่อนแรงลงห้อยข้างเตียง
-ใช้มือข้างปกติกดพื้นพร้อมกับยกศีรษะและยันตัวขึ้น ค่อยๆเลื่อนขยับมือจนตัวตั้งตรง จัดมือข้างอ่อนแรงวางบนเตียงให้นิ้วมือชี้ไปทางด้านหล้ง
-นักกายภาพบำบัดที่บริเวณหัวไหล่ข้างที่อยู่ด้านล่างและบริเวณสะโพก
8.การลุกขึ้นยืน
ในการลุกขึ้นยืน กรณีผู้ป่วยมีการอ่อนแรงมาก หรือน้ำหนักตัวมาก อาจต้องให้ผู้ช่วยอีก1คน ช่วยพยุงให้ผู้ป่วยลุกขึ้นยืนได้ ในขณะที่ผู้ป่วยโน้มตัวมาด้านเพื่อจะลุกขึ้นยืน ญาติ สามารถช่วยโดยการให้แรงกดที่หัวเข่าข้างอัมพาต เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงทิศทางของการขึ้น
สถานบริบาลดูแลผู้สูงอายุ มุ่งมั่นให้บริการและดูแลคนที่ท่านรัก ดุจญาติมิตรของเราเอง ด้วยประสบการณ์การทำงานและการบริการมากว่า 3 ปี พร้อมด้วยทีมงานแพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล และผู้บริหารมืออาชีพ ท่านมั่นใจได้ว่า คนที่ท่านรัก จะไม่ถูกทอดทิ้งอย่างแน่นอน