อุบัติเหตุในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วก็มีโอกาสเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้มาก เช่น กระดูกข้อมือ ข้อสะโพกหรือกระดูกสันหลังหัก เลือดคั่งในสมองเป็นต้น
1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
• มองเห็นไม่ชัด
• หูตึง อาจไม่ได้ยินเสียงรถ เสียงแตร เวลาข้ามถนน
• ระบบการทรงตัวไม่ดี เช่น หูชั้นในเริ่มเสื่อม
• กล้ามเนื้อขาดความแข็งแรงในการช่วยพยุงตัว
• ข้อไม่ดี
• ระบบประสาทสัมผัสเสื่อม เช่น เป็นเบาหวานมานาน
• ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น เจ็บหน้าอก หน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่า
2. สิ่งแวดล้อม
• แสงสว่างไม่เพียงพอ
• พื้นบ้านลื่น โดยเฉพาะพื้นผิวขัดมัน หรือพื้นเปียก
• บันไดบ้านลื่น หรือไม่มีราวบันได
• ห้องน้ำ พื้นลื่นเปียก ไม่มีราวเกาะ
• พื้นที่มีสิ่งของวางระเกะระกะ กีดขวาง เช่น สายไฟ ของเล่นเด็ก ผ้าขี้ริ้ว สัตว์เลี้ยง
3. ยา เช่น ยาลดความดันเลือด ยานอนหลับ
4. เสื้อผ้าที่ ใส่หลวม ยาวรุ่มร่าม มีเชือกยาวไป
เมื่อเรารู้สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุแล้ว เราควรมองหาวิธีป้องกันและแก้ไขก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาให้ได้