ฮอร์โมนในวัยทอง
ผลของการขาดฮอร์โมนเพศเมื่อหมดประจำเดือน
แก้ไขสาเหตุอาจมีอาการของการขาดฮอร์โมน คือ ร้อนวูบวาบตามตัว เหงื่อออกตอนกลางคืน เยื่อบุช่องคลอดแห้ง มีอาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ไม่มีอารมณ์ทางเพศ นอนไม่หลับ หงุดหงิด กังวล ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ นอกจากนั้นยังทำให้กระดูกบางลง เกิดโรคกระดูกพรุน และเกิดโรคต่าง ๆ ในวัยสูงอายุตามมา เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเก๊าฑ์ โรคมะเร็ง เป็นต้น
ผลดีและผลเสียของการรับประทานยาฮอร์โมนเพศ
ผลดีของการรับประทานยาฮอร์โมน
การรับประทานยาฮอร์โมนสามารถลดอาการร้อนวูบวาบตามตัว เหงื่อออก ใจสั่น หงุดหงิด กังวล นอนไม่หลับ เยื่อบุช่องคลอดแห้ง มีอาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ไม่มีอารมณ์ทางเพศ ซึ่งเกิดจากการขาดฮอร์โมนเพศได้และยังโอกาสการเกิดกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลังหักได้ นอกจากนั้นฮอร์โมนชนิดครีมทาช่องคลอดสามารถลดอาการที่เกิดจากเยื่อบุช่องคลอดแห้ง มีอาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ ถ้ารับประทานฮอร์โมนชนิดที่มีทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน จะลดโอกาสเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
ผลเสียของการรับประทานยาฮอร์โมน
การรับประทานยาฮอร์โมนเพศ
ถ้ารับประทานยาฮอร์โมนอยู่แล้ว ควรหยุดรับประทานหรือไม่
ถ้ารับประทานยาฮอร์โมนอยู่แล้ว คงต้องคุยกับแพทย์ที่รักษาว่าควรรับประทานยาต่อหรือไม่ ซึ่งก็ขึ้นกับเหตุผลตอนแรกที่ต้องรับประทานยา ชนิดของยาที่รับประทานและ รับประทานมานานหรือยัง
ถ้าเหตุผลที่รับประทานยาในตอนแรก คือ ป้องกันโรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ หรือโรคสมอง แพทย์อาจค่อยๆ หยุดยาลง แต่ถ้ารับประทานเพราะมีอาการของการขาดฮอร์โมนก็อาจลองลดยาลง ในขนาดที่ต่ำที่สุดที่ไม่ทำให้มีอาการกลับมาอีก หรือบางรายก็หยุดได้ในที่สุด ถ้ามีอาการหลังลดยาก็อาจต้องรับประทานยาต่อ
ถ้าไม่เคยรับประทานยาฮอร์โมนมาก่อน ควรเริ่มรับประทานหรือไม่
ในปัจจุบันนี้ จะใช้ยาฮอร์โมนเพศทดแทนใน 2 กรณี คือ ในผู้ที่ประจำเดือนหมดก่อนเวลาอันควร ได้แก่ ผู้ที่ผ่าตัดรังไข่ไป เป็นต้น และผู้ที่มี
อาการของการขาดฮอร์โมน
ในกรณีแรกจะให้ยาฮอร์โมนจนผู้ป่วยอายุ 50 ปี จึงค่อยหยุด
ในกรณีหลัง ถ้าอาการที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนไม่มากนัก แพทย์อาจไม่ได้ให้ยาฮอร์โมนทดแทน แต่ถ้าอาการเป็นค่อนข้างมากอาจต้องให้ยาฮอร์โมนขนาดต่ำๆ ใช้ระยะสั้นๆ ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นจึงค่อยๆ เพิ่มขนาดยาฮอร์โมนขึ้น หรือให้การรักษาวิธีอื่นร่วมด้วย
มีวิธีอื่นที่ลดโอกาสการเกิดโรคกระดูกพรุนและมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้โดยไม่ต้องรับประทานยาฮอร์โมนเพศ ในการป้องกันโรคกระดูกพรุน ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูงและวิตะมินดี ออกกำลังกายชนิดที่มีการลงน้ำหนัก เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ เป็นต้น ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา กาแฟ มากเกินไป (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องโรคกระดูกพรุน) ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนสูงแพทย์อาจให้ยาอื่นเพิ่มอีก ในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรรับประทานอาหารที่มีกากเส้นใยสูง และตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำ